05 ตุลาคม 2552

ทาสีวัดท้ายดอน"









ตามที่ได้รับมอบมายทำกิจกรรม” โครงการรักษ์เมือง”ภายในกลุ่มตกลงกันว่าจะไปทำที่ชุมชนวัดท้ายดอน ต.เมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ทราบมาว่าทางวัดกำลังต้องการบูรณะปรับปรุงซ่อมแซมวัดในหลายๆส่วน ดังนั้นจึงได้ขออนุญาตกับทางวัดที่จะช่วยดูแลวัดในด้านกำแพงวัดที่ยังทาสีไม่เสร็จ เมื่อได้รับอนุญาตจึงเริ่มโครงการโดยได้ไปขอผู้สนับสนุนในเรื่องของสีและอุปกรณ์ในการทาสี มาจำนวนหนึ่ง ใช้ระยะเวลาในการทำงานสองวันจึงแล้วเสร็จ วันแรกเริ่มจากการทาสีรองพื้นให้ทั่วกำแพงวัด รอให้แห้งจึงผสมสีและเริ่มทาสีจริงอีกหนึ่งชั้นรอให้สีแห้งวันนี้มีอาจารย์และเพื่อนมาดูและช่วยทาสีด้วย พวกเรามากันตั่งแต่9โมงเช้ากลับบ้านกันประมาณร6โมงเย็นทุกคเหนื่อยและดูสนุกกันมากสีเลอะเต็มเสื้อผ้าไปหมดบางคนเลอะเทอะตามเนื้อตามตัวด้วย ทั่งตั่งใจให้เลอะและมันเลอะเอง บางคนลงทุนปีนกำแพงก่อนปีนและทาสีทุกคนได้จุดธูปขออนุญาตเจ้าที่เจ้าทางกันอย่างพร้อมหน้า วันนี้แดดร้อนมากมีชาวบ้านผ่านไปผ่านมาแวะดูและวิพากวิจารณ์ตลอดวันใน วันที่สองทาสีทับอีกรอบและเก็บลายละเอียด เล็กๆน้อย วันนี้ข้าพเจ้าได้รู้ประสบการณ์หลายๆอย่างจากการทำงานครั้งนี้สอนให้รู้ถึงเรื่องของเพื่อนเรื่องของเวลา การตัดสินใจคิดก่อนทำอะไรหลายๆอย่างควรคิดให้ดี ถึงเหตุผลความถูกต้องความสมควร
สุดท้ายงานก็สำเร็จผ่านไปได้ด้วยดีมีชาวบ้านบริเวรนั้นหลายๆคนชมเชยด้วยความชื่นชม

14 กันยายน 2552

"พัทยา" เมืองที่ผู้คนใฝ่ฝัน??!!

"ครูจา"หรือนายศุภกร โนจา ผ.อ.ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาเด็กเมืองพัทยาจะประสานงานกับศูนย์พิทักษ์เด็กเยาวชนและสตรี ทีมงานครูข้างถนนค่อยดูแลเด็กเยาวชนและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิและคุกคามในด้านต่างๆบริเวรเมืองพัทยาและบริเวรใกล้เคียง

มุมหนึ่งของเมืองพัทยาที่อีกหลายๆคนไม่เคยรู้ หรือเพิกเฉยต่อมัน สาเหตุหลักของปัญหาพบว่ามาจากประชากรแฝง คนในพื้นที่เมืองพัทยามีไม่เท่าไหร่ส่วนมากจะเป็นคนจากทีอื่นเข้ามาทำงานเป็นแรงงาน ท่องเที่ยว หรือทำงานบริการด้านอื่นๆซะมากกว่า คนพื้นที่ใกล้เคียงจะชอบเข้ามาก่อเหตุในเมืองพัทยาเพราะยากต่อการจับกุม วันๆหนึ่งในเขตพื้นที่มีการก่อจรกรรมรถจักรยานยนต์วันๆหนึ่งไม่ต่ำกว่า9-10คัน คนต่างชาติที่พบมากในเมืองพัทยาส่วนใหญ่มาในรูปแบบของนักท่องเที่ยว ชอบเข้ามาก่อเหตุอนาจารกับเด็กและเยาวชนเป็นพวกpedophilesคือพวกสมรรถณทางเพศอ่อนตัวไม่ทำงาน มักจะทำอนาจารต่อเด็กชายเป็นส่วนใหญ่ซึงครูจาได้ยกตัวอย่างไว้
หลายคดีว่าเช่น นายอลัน ชาร์เลส มอร์สัน อายุ 75 ปี สัญชาติอังกฤษ ก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศและถ่ายรูปเก็บไว้ ปัญหาปัจจุบันพบว่าเด็กมีการกระทำความผิดที่รุนแรงมากขึ้นเพราะว่า เมื่อเด็กกระทำความผิดโทษจะไม่หนักสามารถประกันตัวได้ง่าย ผู้ใหญ่จึงใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการทำความผิด เด็กในจังหวัดชลบุรีกระทำความผิดมากเป็นอันดับ1ของประทศรองลงมาคือ นครราชศรีมา

ปัญหาหลักๆที่เกิดขึ้นที่เมืองพัทยา
-ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่พัทยา ไม่มีที่อยู่อาศัยต้องอาศัยอยุ่ตามบาร์ร้างมั่วสุ่ม เป็นเด็กท่ออยู่ตามท่อพบมากในเมืองพัทยา
-พ่อแม่เป็นหนี้แต่ขายลูกเพื่อใช้หนี้
-หญิงไทยที่มีลูกติดจะโดนชาวต่างชาติหลอก ส่วนมากเป็นพวกpedophiles หลอกแม่เพื่อทำอนาจารลูกเด็กพวกนี้ส่วนใหญ่จะไม่ถือสาเพราะคิดว่าเป็นผู้มีพระคุณ
-ชาวต่างชาติที่มีความผิดปกติทางจิตจะชอบหลอกเด็กผู้ชายมาข่มขืนทำอนาจาร

หน้าที่ของสถานที่ที่คุ้มครองเด็ก
-จะปลูกบ้านให้เด็กอยู่ ตอนนี้ทำเสร็จไปแล้ว3หลังจากความร่วมมือของท่านทูตจากประเทศต่างๆ
-ปลูกฝังให้เด็กอยู่ได้ด้วยตนเอง เน้นการพัฒนาคุณภาพด้านชีวิต เพื่อจะได้ออกไปใช้ชีวิตข้างได้อย่างคนปกติทั่วไป
-ให้การศึกษา กับเด็ก
เมื่อพบเจอเหตุการณ์ก้สามารถช่วยเป็นหูเป็นตาได้ โดยโทรแจ้งข่าวสารไม่ว่าจะเป็นที่ใด
>> ศูนย์คุ้มครองเด็ก 038-248037 สำนักงาน
ครูจา 081-4111750, 0819499349


ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กแยวชน



น้องเพลงอยุ่กับแม่แท้ๆชื่อ นางทิพยลดา บุญลิ้ม อายุ 29 ปี
เป็นพนักงานโรงแรมออกราส และอยู่กับพ่อเลี้ยงชื่อ นายวิทยา พิทักษ์กร เป็นช่างของโรงแรมแห่งหนึ่งในพัทยา
โดยน้องเพลงมีพี่สาวที่พ่อเดียวกัน 1 คน และมีน้องสาวที่พึ่งเกิดคนละพ่อ 1 คน
ส่วนตัวนายวิทยาพ่อเลี้ยงนั้นเป็นคนขี้โมโห เวลาน้องเพลงทำผิดจะลงโทษด้วยการตีอย่างรุนแรงหลายครั้ง
ที่มา
http://www.csip.org/csip/autopage/show_page.php?h=119&s_id=120&d_id=120



???!!
อยากทราบว่า>> ปัญหาการขายบริการถ้าผู้ขายยินยอมที่จะทำมันผิดไหม และระหว่างคนทีไปยืนขายตามที่ต่างๆและที่ทำอยู่ตามอาบ อบ นวด มันเหมือนหรือต่างกันหรือป่าว (อันนี้ส่วนตัวอยากทราบว่ามีใครหรือหน่วยงานไหนรู้หรือไม่ว่าบริเวรหลัง ร.5 บริเวรหน้าศาลในเมืองชลบุรีมีการขายบริการตอนดึกๆทุกวัน ไม่มีใครแก้ไขปัญหาได้เลยเหรอคร๊ะ??)

01 กันยายน 2552

อ่างศิลา is" ..??




อ่างศิลาเป็นหมู่บ้านชาวประมงริมทะเล( ตามบันทึกการประพาสของรัชกาลที่5 วันที่9มกราคม 2419 )เดิมเรียกกันว่าอ่างหิน อ่างศิลามีชื่อเสียงมากในการทำอุตสาหกรรมครกหินและการสกัดหินเป็นรูปต่าง ๆ ตามความต้องการของตลาด ว่ากันว่าหินแกรนิตบริเวณบ้านอ่างศิลามีคุณภาพดี แม้ในวันนี้อ่างศิลาจะไม่มีหินแกรนิตซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับทำครกแล้ว แต่อุตสาหกรรมขนาดย่อมเหล่านี้ก็ยังมีให้เห็นได้ทั่วไปในเขตอ่างศิลา เพราะชาวบ้านสั่งซื้อหินจากแหล่งอื่นมาสกัดขายจะเห็นเป็นแนวยาวตามสองข้างทางร้านค้าต่างๆเป็นเหมือนสัญลักษณ์บอกเขตแดนของการก้าวสู่อ่างศิลาแล้ว
แถวๆ นั้นจะมีร้านค้าของฝากด้วย มีทั้งอาหารทะเลแห้ง ขนมหม้อแกง ข้าวหลาม และกล่องโฟมสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากซื้อกุ้ง หอย ปู ปลา กลับไปทำกินเองที่บ้าน ที่จอดรถสะดวกสบาย อาจมีรถเยอะในช่วงเทศกาลแต่ก็สามารถจอดริมถนนได้
เทศบาลตำบลอ่างศิลามีตึกขาวและตึกแดงที่อยู่คู่กับชาวบ้านแทบนี้มาเป็นเวลานานแล้วเริ่มสร้างตั่งแต่รัชกาลที่4ตึกแดงเป็นเสมือนราชินี ส่วนตึกแดงเป็นของพระเจ้าอยู่หัว( ได้บูรณะสมัยรัชกาลที5โดยพระศรีพัชรินทราบรมราชินีพระมเหสี)
ตึกขาวเป็นสถานที่พักผ่อน ส่วนตึกแดงเป็นเสมือนที่พักฟื้นผู้ป่วย ในหลวงเคยเสด็จประพาสเมื่อวันที่25 ก.พ 2547ข้างๆมีสะพานปลาสร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่4เพราะเมื่อก่อนเวลาน้ำลดเข้าถึงยากเลยต้องสร้างสะพานยื่นออกปัย รัชกาลที่3เสด็จมาที่นี้แต่ไม่บ่อยเท่าไหร่อ่างศิลานับเป็นที่ต่างอากาศแล่งแรกๆของเมืองไทยก็ว่าได้
วัดอ่างศิลาเป็นวดู่บ้านค่เมืองอ่างศิลามานับ300ปีแล้วแต่น้อยนหนักที่เยไปเยี่ยมชมส่วนมากนักท่องเที่ยวไม่ค่อยให้ความสนใจเพราะไม่ทราบประวัติความเป็นมาและไม่มีแรงดึงดุด ไม่มีการประกาสให้คนทราบปัจจุบันวัดอ่างศิลาได้รับย่กย่องเป็นโบราณสถานที่สำยแห่งหนึ่งไปแล้วโดยกรม ศิลปากร ในปี2539
ตลาดเก่าอ่างศิลา133ปีเป็นโครงการเพื่อกะตุ้นเศรษกิจในตลาดอ่างศิลาซึ่งเศษกิจกำลังซบเซาด้วยหลายสาเหตู เหตุผลหนึ่งก็คือการมีร้านค้าสะดวกห้างสรรพสินค้าใกล้ย่านนั้นเกิดขึ้นมากมาย ทำให้รายได้ของชาวบ้านน้อยลง ทางเทศบาลจึงได้ริเริ่มโครงการขึ้นมา ตลาเริ่มตั่งแต่บริเวรณครกหินใหญ่จนถึงบริเวณรตึกแดง-ขาว มีชาวบ้านนำสิ้นค้าออกมาจัดจำหน่ายมีทั่งของกินของที่ละลึกของใช้เก่าต่างๆที่หายากมากมายหลากหลายชนิด มีของทะเลทั่งสดและแห้ง มีขนมโบราณที่หากินได้ยาก มีของฝากที่ละลึกเป็นตัวแทนจากการมาเยื่อนอ่างศิลามากมายเช่น โปสเตอร์ กระเป๋าผ้า
ผู้คนก็จะแวะเวียนมาตลอดทั่งวันทั่งขาจรและขาประจำ เดินสบายๆแต่อากาศร้อนนิดหนึ่ง ทาจะให้ดีควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมในการต่อต้านแสงแดด วึ่งประมาณปลายปีก็จะมีการสรุปผลความสำเร็จของโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ก็ช่วยให้ชาวบ้านต่อชีวิตต่อไปได้ มากเลยที่เดียว

27 สิงหาคม 2552

การเรียนรู้วิถีเมือง "สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล"








สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลพัฒนามาจากพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2512ในปีพ.ศ.2523ได้ของบประมาณรจากรัฐบาลญี่ปุ่นมูลค่า230ล้านบาทเพื่อจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้บริการด้านความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่บุคคลทั่วไปในรูปแบบหลักๆ 2 แบบ คือ สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านวิชาเพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปโดยการออกไปจัดนิทรรศการในที่ต่างๆ การจัดการฝึกอบรม และการจัดสัมมนาวิชาการ เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันตั่งแต่8.30-16.00
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลตั่งอยู่บริเวณรด้านหน้าทางเของมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งก็อยู่ใกล้กับหอพักทำให้เดินทางสะดวกได้พบปะผู้คนเป็นจำนวนมากได้สื่อสารพูดคุยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก และเป็นแหล่งสร้างและให้ความรู้กับผู้อื่นเป็นการเรียนรู้วิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับวิถีเมืองที่อยู่ใกล้ตัว
สถานที่นี้ได้รวบรวมพันธุ์ปลาน้ำเค็มชนิดต่างๆไว้หลายชนิดในแต่ละวันมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาเยี่ยมชมตลอดทั่งวันมีทั่งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนมากจะมาในรูปแบบเป็นหมู่คณะสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ชมรม สมาคม ต่างๆที่มาที่นับ100ชีวิต ก็จะมีการแบ่งกลุ่มฬนการเข้าเยี่มชมเพื่อความสะดวกในการเยี่ยมชมในส่วนที่ได้ขอวิทยากรเพื่อนำเยี่ยมชมนั้นก็จะมีวิทยากรทั่งที่มืออาชีพและมือสมัครเล่นอาสาพาเยี่ยมชม ฝีมือนั้นไม่แพ้กันเลย


ดิฉันยืนดูแลตามจุดต่างๆเพื่อคอยแนะนำและตอบคำถามตามข้อสงสัยเกี่ยวข้องกับชนิดของปลาน้ำเค็มในส่วนของปลาเศรษฐกิจ ซึ่งมีอยู่ประมาณร7ตู้เข้าไปดูการอนุบาลสัตว์น้ำก่อนที่จะนำมาให้ผู้คนได้ชมกัน มีขั้นตอนมีถีการที่ต้องใช้ความอดทนให้การดูแลกว่ามันจะโตและแข็งแรง และเมื่อถึงเวลาให้อาหารปลาในตู้ปลาใหญ่ข้าพเจ้าก็จะขึ้นไปให้อาหารปลาอาหารของมันคือปลาที่ตัวเล็กกว่า จะมีพี่ช้างนักประดาน้ำลงไปให้อาหารปลาอยากใกล้ชิดด้วยก็จะเป็นอย่างนี้ทุกวันมีพี่ภาคสนามพี่จิคอยดูแลให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับปลาชนิดต่างๆให้กับเรา และแบ่งหน้าที่ให้รับผิดชอบในส่วนของตัวเองซึ่งมีไปด้วยกัน3คนแต่ละคนก็จะมีหน้าที่เป็นของตัวเองทำงานตั่งแต่8.30ถึง4.30 จะมีเวลาพักช่วงประมารณเที่ยงพอตอนบ่าย็เข้ามาทำงานเหมือนเดิมจะมีทัวส์มาลงตลอดทั่งวันจะมีพี่ๆค่อยต้อนรับ เราก็จะค่อยดูแลเด็กด้วยเป็นการดูแลให้ทั่วถึงและเพื่อให้ง่ายต่อการนำเยี่ยมชม

ได้นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้โดยการเรียนรู้การทำงานภายในองค์กรของรัฐในส่วนของการบริการประชาชนให้ความรู้และเป็นที่จัดแสดงพันธุ์ปลาหายากใกล้ศูนย์พันธุ์เป็นการมอบโอกาศที่ดีต่อประชาชนทั่วไปทั่งในพื้นที่เองและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ที่ต้องการความรู้เพื่อหาประสบการณที่ดีในการฝึกปฎิบัติงานจริงเพื่อเป็นประโยชน์ในการว่างแผนการวงตัวในอนาคตการทำทำงานจริงของเรา ที่เราต้องรับมือกับเหตุการณ์นั้นจริงๆเพื่อที่จะได้มีแนวทางที่ดีในการใช้ชีวิต

26 สิงหาคม 2552

เรียนรู้วิถีเมือง

1. รายละเอียดของหน่วยงาน
2. เหตุผลที่เลือกเรียนรู้ที่สถานที่นั้น
3. รายละเอียดการทำงานแต่ละวัน
4. บทสรุปประสบการณ์การเรียนรู้ โดยให้เชื่อมโยงกับวิถีเมือง
5. อื่นๆ เช่น ข้อเสนอแนะและข้อจำกัด เป็นต้น
นิสิตโปรดตั้งใจเขียนอย่างมีคุณภาพด้วย แล้วผลของการทำงานนี้ จะบังเกิดเป็นกุศลกับตัวท่านเอง
คำเตือน: อย่ารอเสี่ยงโชค กับการสอบปลายภาค .....

23 สิงหาคม 2552

กิจกรรมสนุกๆผ่อนคลายที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา


กิจกรรมนันทนาการมีอยุ่หลากหลายเราสามารถเลือกทำได้อย่างง่ายๆสบายๆตามใจและความเป็นตัวของเรามีทั่วไปทั่งในตัวเมืองชลบุรีเองหรือบริเรณโดยรอบส่วนมากก็จะเป็นเกี่ยวกับด้านธรรมชาติซะเป็นส่วนใหญ่ เช่น ชายหาดบางแสนที่เลื่องชื่อซึ่งอยู่ไม่ใกล้จากตัวเมืองมากเท่าไหร่หนักขับรถประมาณร30นาทีจากตัวเมืองก็จะถึง จะได้พบและสัมพผัสกับธรรมชาติท้องฟ้าสีคราม น้ำทะเลทีสวยงาม ก่อนจะถึงหาดก็มีสถานที่น่าเที่ยวอีกอย่างหนึ่งก็คือสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลหมาวิทยาลัยบูรพา เป็นศูนย์จัดแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเค็มที่หาอยากนานาชนิดอยู่บริเวณรด้านหน้าทางเข้าติดกับประตูทางเข้าม.บูรพามีสถานที่จอดรถกว้างขว้างเพื่อรอต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่งประชาชนทั่วไปหรือกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่มาทัศนศึกษาดูงานต่างๆเปิดให้เข้าเยี่ยมชมตั่งแต่8โมงเช้าจนถึง4โมงเย็นเป็นประจำทุกวันค่าเข้าชมก็ราคาย่อมเยาว์บริเรณด้านหน้ากมีน้ำพุรูปปลาโลมา5ตัวต่อตัวกันเป็นเกลียวอยู่เหมือนเป็นสัญลักษณ์ของที่นี้ไปแล้วมีสวนหย่อมไว้นั่งเล่นแวะถ่ายรูปเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกในการมาเยี่ยมชมที่นี้ซักครั่งหนึ่งในชีวิต

ข้าพเจ้าก็ชอบมาเดินดูเดินเที่ยวนั่งทำการบ้านบริเวณสถาบันวิทยาศาสตร์นี้บ่อยๆเพราะมันอยู่ไม่ใกล้จากหอพักมากเท่าไหร่ บรรยากาศตอนเย็นๆก็ดี และที่สำคัญถ้ายื่นบัตรนิสิตม.บูรก็จะสามารถเข้าดูได้ฟรีๆอีกไม่เสียตังค์อีกด้วย

30 กรกฎาคม 2552

The History 'of Merlion






สิงโตทะเล เครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์สัตว์ที่มาพร้อมประวัติของการเป็นประเทศที่ชื่อ สิงคโปร์ ใครคิดที่จะมาที่นี้ต้องไปที่สวนสิงโตทะเลนี้ให้ได้ ตอนแรกนั้น สิงโตทะเล (Merlion) ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board - STB) ในปี 1964 – รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ผู้ออกแบบคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr Fraser Brunner) เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ หัวรูปปั้นเป็นสิงโตหมายถึงสิงโต ส่วนหางที่เป็นปลาคือสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเทมาเซ็ค (หมายความว่า "ทะเล" ในภาษาญี่ปุ่น)



สิงคโปร์ มาจากคำว่า "สิงหปุระ" (เมืองสิงโต)ตามตำนาน เจ้าชายซางนิลาอุตามะเคยเห็นตอนที่พระองค์พบเกาะสิงกะปุระในปี ค.ศ. ที่ 11 ตามบันทึกของชาวมาเลย์ เดิมเป็นเกาะขนาดเล็กเต็มไปด้วยป่าชายเลชาวเมืองทำการประมงเป็นอาชีพหลัก ศตวรรษที่19 ประเทศอังกฤษกำลังล่าอาณานิคมแล่งเห็นว่าเกาะสิงคโปร์มีทำเลที่เหมาะสมส่ง เซอร์สแตมฟอร์ด แรฟเฟิล มาเจรจา จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ
แรฟเฟิล ตั้งสิงคโปร์ให้เป็นสถานีการค้า นโยบายการค้าเสรีดึงดูดพ่อค้าจากทั่วทุกทีทว่าประเทศเล็ก ๆ นี้กลับถูกคุกคาม การค้าฝิ่นและสุราแบบผูกขาด สมาคมลับต่าง ๆรวมทั้งสิ่งเลวร้ายมากมาย เมืองแห่งนี้จึงมีแต่ความป่าเถื่อนและความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆเนื่องจากไม่มีรัฐบาลที่ทำหน้าที่อย่างเป็นรูปธรรมต่อมาและอังกฤษยอมสละสิงคโปร์ในเดือนกุมภาพันธ์ 1942 การรวมชาติเข้ากับมาเลเซีย เมื่อสิงคโปร์เห็นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมลายาทันที เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีก แต่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลเซียมากนักเพราะมีการเหยียดชนชาติกัน ทำให้พรรคกิจประชาชนของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อแยกตัวออกมาแล้วพรรคกิจประชาชนก็ครองประเทศมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ จึงป็นพื้นฐานจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสิงคโปร์ในเวลาต่อมา